กำจัด เรือด
การป้องกันกำจัดเรือด
การป้องกันและกำจัดเรือดที่มีประสิทธิภาพต้องดำเนินการโดยใช้วิธีการผสมผสานหลาย ๆ ดัน เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับเรือด การสำรวจและประเมินผลก่อนและหลังการดวบคุม การดวบคุมโดยใช้วิธีทางกายภาพที่เหมาะสม การจัดการสภาพแวดล้อมของแหล่งที่พบ การใช้สารเคมีกำจัดแมลงที่เหมาะสมสำหรับกำจัดเรือด รวมทั้งการทดสอบความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้
- การให้ความรู้เกี่ยวกับเรือด
- การสำรวจเรือด
- สิ่งบ่งชี้บ่งบอกว่าเรือดอยู่ในบริเวณนั้น
- การป้องกันกำจัดเรือดโดยไม่ใช้สารเคมี
- การป้องกันกำจัดเรือดโดยใช้สารเคมี
- การใช้สารเคมีกำจัดแมลงผสมน้ำฉีดพ่น
- ข้อควรปฏิบัติในการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง
การให้ความรู้เกี่ยวกับเรือด
ควรมีการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาและนิเวศวิทยาของเรือด ตลอดจนวิธีการป้องกันกำจัดเรือด เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเรือดมากขึ้น บุคลากรเหล่านี้ ได้แก่
- บุคลากร/เจ้าหน้าที่ของโรงแรม ได้แก่ ผู้จัดการแผนกแม่บ้านแม่บ้านผู้ทำความสะอาดห้องพัก ช่างซ่อมบำรุง
- ผู้ให้บริการกำจัดแมลง ทั้งระดับผู้จัดการ หัวหน้าผู้ควบคุมงานและเจ้าที่ภาคสนามผู้ปฏิบัติงานกำจัดแมลง
การสำรวจเรือด
อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ในการสำรวจเรือด ได้แก่ ไฟฉาย ปากคืบ พู่กัน เหล็กแหลมขนาดเล็ก (สำหรับเขี่ยเรือดที่อยู่ในร่องหรือซอกเล็ก ๆ) ขวดพลาสติกที่มีฝ่าปิดแบบเกลียวเก็บเรือด แว่นขยาย แบบฟอร์มบันทึกผลการสำรวจเรือด
ดำเนินการสำรวจเรือดอย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกซอกทุกมุมของห้องอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละครั้ง บริเวณที่อาจจะพบตัวเรือดในห้องพักได้แก่ หัวเตียง สิ่งประดับเหนือหัวเตียง ขอบเตียง กรอบไม้ใต้เตียง ฐานรองที่นอน (Box spring) ไม้บัวหัวเตียงและรอบห้อง บนที่นอน ขอบที่นอนใต้ที่นอน พรมริมผนังกำแพง โต๊ะหัวเตียง โต๊ะเครื่องแป้ง ที่วางกระเป๋าตู้เสื้อผ้า เก้าอี้หวาย ผ้าม่าน ผนังห้อง ขอบเสา ขอบหน้าต่าง และกรอบรูป การสำรวจเรือดต้องดำเนินการทั้งก่อนและหลังการควบคุม
สิ่งบ่งชี้บ่งบอกว่าเรือดอยู่ในบริเวณนั้น
- เรือด (ที่ยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว)
- รอยเปื้อนมูลดำของเรือด
- คราบของเรือดที่ลอกทิ้งไว้
- ไข่ของเรือด (อาจฟักแล้วหรือยังไม่ฟัก)
การป้องกันกำจัดเรือดโดยไม่ใช้สารเคมี
1. การกำจัดตัวเรือดโดยการใช้วิธีทางกายภาพ
1.1 เครื่องดูดฝุ่น (Vacuum cleaner)
การใช้เครื่องดูดฝุ่นในการทำความสะอาดพรมและพื้นห้องสามารถกำจัดเรือดที่พบอยู่นอกแหล่งหลบซ่อนได้บ้างแต่ไม่สามารถกำจัดไข่หรือเรือดที่หลบอยู่ภายในแหล่งหลบซ่อนได้ ควรดำเนินการกำจัดเรือดที่อยู่ในถุงเก็บฝุ่นภายในเครื่องหลังปฏิบัติงานทันที ไม่เช่นนั้นเรือดที่อยู่ภายในเครื่องดูดฝุ่นดังกล่าวอาจแพร่กระจายไปสู่ห้องอื่นๆได้ การกำจัดเรือดที่อยู่ในถุงเก็บฝุ่นสามารถดำเนินการได้ดังนี้
- แช่ถุงเก็บฝุ่นในถังซึ่งมีน้ำละลายผงซักฟอกเข้มขัน(ต้องแช่ถุงให้น้ำท่วมมิด) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
- ต้มถุงเก็บฝุ่นในน้ำเดือด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 นาที
- อบถุงเก็บฝุ่นในเครื่องอบผ้าที่อุณหภูมิอย่างน้อย 60 °C เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาที
1.2 ความร้อน (Heat)
การกำจัดเรือดโดยใช้ความร้อนอาจดำเนินการได้หลายวิธี ดังนี้
- การต้มผ้าปูที่นอน ม่าน ตลอดจนเครื่องนอนและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ทำจากผ้า ซึ่งเก็บมาจากห้องพักที่พบเรือดในน้ำอุณหภูมิอย่างน้อย 60°C เป็นระยะเวลา
อย่างน้อย 10 นาที เพื่อกำจัดเรือดและไข่ที่อาจจะยังติดอยู่ในผ้าเหล่านั้นให้หมดไป
- การซักผ้าปูที่นอนตลอดจนเครื่องนอนและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ทำจากผ้า ด้วยวิธีการซักแห้ง (Dry cleaning) หรืออบผ้าด้วยเครื่องอบผ้า (Dryer) ที่อุณหภูมิอย่างน้อย
60°C เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 น่าที สามารถกำจัดเรือดได้ทุกระยะรวมทั้งระยะไข่ด้วย
- ใช้เครื่องพ่นไอน้ำร้อน (Steamer) ฉีดพ่นกำจัดเรือดในบริเวณที่พบ ซึ่งจะทำให้เรือดตายเมื่อสัมผัสไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงอย่างน้อย 60°C (จะเป็นช่วงที่ไอน้ำผ่าน
ออกมาจากปลายท่อไม่เกิน 2.5 ซม.) อย่างไรก็ตามต้องระวังปัญหาเรื่องความชื้นของไอน้ำที่หลงเหลืออยู่บนวัสดุที่เป็นผ้า ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการ
เกิดแบคที่เรียหรือเชื้อราตามมา ดังนั้นบนวัสดุที่เป็นผ้าหลังพ่นด้วยไอน้ำร้อนแล้วจึงควรต้องเป่าด้วยลมร้อนเพื่อให้แห้งสนิท
- ใช้เครื่องทำความร้อน (Heater) อบห้องให้มีอุณหภูมิภายในห้องสูง 50°C เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมงหรือที่อุณหภูมิ 60°C เป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง สามารถ
กำจัดตัวเรือดได้ รวมทั้งไข่ด้วย ทั้งนี้เป็นการกำจัดเรือดได้อย่างหมดสิ้นทุกซอกทุกมุมในห้อง
2. การปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณแหล่งที่พบตัวเรือด
ดำเนินการปรับปรุงห้องพัก โดยการรื้อทำลายแหล่งหลบซ่อนของเรือดที่มีอยู่ทั้งหมด เช่น รอยขาดของวอลล์เปเปอร์รอยต่อระหว่างหัวเตี๋ยงกับผนังห้อง รอยต่อระหว่างไม้บัวที่พื้นกับผนังห้อง และซ่อมแซมปรับปรุงใหม่โดยใช้ซิลิโดน (Silicone)หรือกาวยางยาอุดแนวรอยแตกเหล่านี้เพื่อไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของเรือดอีกต่อไป
การป้องกันกำจัดเรือดโดยใช้สารเคมี
การป้องกันกำจัดเรือดดยใช้สารเคมีต้องดำเนินการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงโดยเลือกช้สารเคมีกำจัดแมลงชนิดที่ตัวเรือดยังไม่สร้างความต้านทาน ทั้งนี้จะต้องฉีดพ่นสารเคมีดังกล่าวให้ทั่วทุกซอกทุกมุมที่เป็นแหล่งหลบซ่อนของตัวเรือด และต้องสำรวจและประเมินผลหลังการดวบคุมทุกครั้ง ประมาณ 3-7 วัน หลังการฉีดพ่นกำจัดตัวเรือด โดยการสำรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วน หากยังพบตัวเรือดแสดงว่าการฉีดพ่นยังไม่ครอบคลุมบริเวณที่มีตัวเรือด ต้องดำเนินการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง
ซ้ำทันที และประเมินการควบคุมอีกจนกว่าจะไม่พบตัวเรือด นอกจากนี้ยังต้องหมุนเวียนเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ ทุกๆ 6-12 เดือน เพื่อลดปัญหาการสร้างความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงของเรือด องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้แนะนำสารเดมีกำจัดแมลงสำหรับใช้ในการควบคุมเรือด
การใช้สารเคมีกำจัดแมลงประเภทผสมน้ำฉีดพ่น
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เคมีกำจัดแมลง (ประเภทผสมน้ำฉีดพ่น) จำนวน 10 ชนิด ซึ่งมีสารออกฤทธิ์มาจากกลุ่มของสารเดมีกำจัดแมลง 6 กลุ่ม คือ กลุ่ม Organophosphate (ได้แก่ Diazinon) กลุ่ม Carbamate (ได้แก่ Fenobucarb, Propoxur) กลุ่ม Pyrethroid ได้แesfenvaleratecypermethrin,Bifethrin,Etofenprox) กลุ่ม Pyrrole (ได้แก่ Chlorfenapyr) กลุ่ม Phenypyrazole (ได้แก่ Fipronil) และกลุ่ม Neonicotinoid (ได้แก่ Imidacloprid) ที่ผู้ประกอบการกำจัด แมลงนิยมใช้ในการกำจัดแมลงคลาน (จำพวก แมลงสาบ มด ปลวก เรือด) ในการกำจัดตัวเรือดซึ่งโคโลนีได้จากจังหวัดต่าง ๆ โดยเจือจางสารเคมีกำจัดแมลงแต่ละชนิดด้วยน้ำให้มีความเข้มข้นตามที่ระบุให้ใช้ในฉลากแล้วฉีดพ่นลงบนตัวเรือดโดยตรง (Direct spray) ผลการศึกษาพบว่า
Imidacloprid เป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการศึกษาครั้งนี้ รองลงมา ได้แก่ Chlorfenapyr และ Fipronil (ตารางที่ 1)
เป็นที่น่าสังเกตว่าสารเคมีกำจัดแมลงทั้ง 3 ชนิด คือ Imidacloprid,Chlorfenapyr และ Fipronil เป็นสารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มใหม่ซึ่งยังไม่เคยมีการใช้สำหรับกำจัดตัวเรือดมาก่อน (สารเคมีกำจัดแมลงที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้สำหรับกำจัดตัวเรือด แสดงไว้ในภาคผนวก) สำหรับสารเคมีกำจัดแมลงที่เหลืออีก 7 ชนิดนั้น พบว่ามีประสิทธิภาพต่ำในการกำจัดตัวเรื่อด ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการสอบถามบริษัทผู้ให้บริการกำจัดแมลงในโรงแรม ซึ่งพบว่าบริษัทส่วนใหญ่ใช้สารเคมี
กำจัดแมลง (ประเภทผสมน้ำฉีดพ่น) เฉพาะในกลุ่ม Pyrethroid เท่านั้นในขณะที่มีบริษัทส่วนน้อยที่ใช้สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่ม Organopho-sphate และ กลุ่ม Carbamate ในการดำเนินการกำจัดแมลงในห้องพักของโรงแรม เช่น แมลงสาบ มด ปลวก และรวมไปถึงตัวเรือดด้วย
ข้อควรปฏิบัติในการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง
1. ควรผสมสารเคมีกำจัดแมลงตามดำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลากของผลิตภัณฑ์
2. ขณะผสมสารเคมีกำจัดแมลง ควรสวมถุงมือและหน้ากากเพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารเคมีกำจัดแมลง และขณะพ่นควรอยู่เหนือลม ระวังอย่าให้เข้าตา จมูก ปาก หรือสัมผัสผิวหนัง
3. หลังจากใช้สารเมีกำจัดแมลงเสร็จแล้ว ต้องล้างมือ ล้างหน้าอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้า ให้สะอาด ก่อนดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร
4. ห้ามทิ้งภาชนะบรรจุสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้หมดแล้วลงในแม่น้ำ ดู คลอง แหล่งน้ำสาธารณะ ควรล้างภาชนะที่ใช้หมดแล้วด้วยน้ำ 3 ครั้ง ก่อนทำลายหรือฝังดิน ห้ามเผาไฟ